ค้นหาแบบกำหนดเงื่อนไข

จะเห็นได้ว่า การเพิ่มเติมข้อมูลให้ครบถ้วนและแก้ไขข้อผิดพลาดจากการบันทึกในแบบข้อถามนั้นเป็นสิ่งที่ควรจะทำ ถึงแม้ไม่สามารถที่จะยืนยันได้ว่า ข้อมูลที่เติมทุกครั้งนั้นจะถูกต้องเสมอไป ซึ่งการเพิ่มเติมข้อมูลหรือการแก้ไขข้อผิดพลาดนั้น เราใช้เหตุผลในรายการอื่นๆ ในแบบข้อถามนั้นและยอมรับให้มีความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นบ้าง ดีกว่าที่จะปล่อยให้คำตอบนั้นว่างไว้หรือเป็นข้อมูลที่ผิด ตามที่ได้บันทึกมา

2.2 การลงรหัส (Coding) ภายหลังการบรรณาธิกรในแบบข้อถามเสร็จเรียบร้อยแล้ว ถ้างานสถิติโครงการนั้นเป็นงานที่มีปริมาณงานน้อยก็จะนำเอาข้อมูลที่ได้บรรณาธิกรแล้วไปประมวลผลด้วยมือ แต่ถ้าเป็นงานที่มีปริมาณมากก็จำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล ดังนั้นแบบข้อถามที่ได้บรรณาธิกรแล้วนั้นจะต้องนำไปลงรหัส และทำการเปลี่ยนข้อมูลจากแบบข้อถามลงสู่ตัวกลางหรือสื่อ เช่น เทป ดิสก์ (disk) ฯลฯ

2.3 การ บรรณาธิกรด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ (Machine edit) เป็นการบรรณาธิกรโดยการเขียนโปรแกรมสั่งให้เครื่องทำงาน โดยจะตรวจสอบความถูกต้องของรหัสและความสัมพันธ์ของ ข้อมูลคือ การตรวจสอบ Possible code เป็นการตรวจสอบความเป็นไปได้ของข้อมูล เช่น

รหัสของสถานภาพสมรสจะมีอยู่ 6 รหัส คือ

รหัส

1

หมายถึง

โสด

"

2

"

สมรส

"

3

"

แยกกันอยู่

"

4

"

ม่าย

"

5

"

หย่า

"

9

"

ไม่ตอบ , ไม่ทราบแน่ชัด


ข้อมูลที่ลงรหัสจะมีรหัส 1 - 5 และ 9 เท่านั้น ถ้ามีรหัสที่บันทึกเป็น 7 เครื่องจักรก็จะพิมพ์ออกมาให้ทราบว่าผิด ซึ่งจะต้องทำการแก้ไขให้ถูกต้องต่อไป ( เรียกว่า การ Update ข้อมูล )
•  การตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล (Relation data) เป็นการตรวจสอบ ความสัมพันธ์ของ ข้อมูลที่มีต่อกันระหว่างรายการหนึ่งกับอีกรายการหนึ่งหรือกับอีกหลายรายการก็ได้ เช่น เราจะตรวจสอบอายุกับสถานภาพสมรส ซึ่งในรายการของอายุลงรหัสไว้ 10 ปี ปรากฏว่า สถานภาพสมรสบันทึกรหัส 2 แสดงว่าการบันทึก รหัสผิด

2.4 การประมวลผลข้อมูล ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งที่ทำให้ได้ผลสรุปของข้อมูล จึงจำเป็นต้องทำการตรวจสอบอย่างละเอียดรอบคอบว่าได้มีการคำนวณค่าผิดหรือไม่ รวมทั้งต้องมีการตรวจสอบโปรแกรมการประมวลผลให้ถูกต้อง

2.5 การวิเคราะห์ข้อมูล นำข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลมาทำการวิเคราะห์ โดยจะต้องเลือกค่าสถิติที่จะนำมาใช้ให้เหมาะสมถูกต้อง และต้องตรวจสอบดูว่าค่าที่คำนวณมาได้นั้นถูกต้องหรือไม่

3. ขั้นการนำเสนอข้อมูลและการจัดทำรายงาน การเตรียมนำเสนอข้อมูลสถิติเป็นเรื่องที่สำคัญ มาก จำเป็นต้องมีการตรวจสอบว่า ข้อมูลในแต่ละตารางถูกต้อง ครบถ้วน และแนบนัยกันหรือไม่ เช่น ยอดรวม ของตารางหนึ่งซึ่งควรจะเท่ากับยอดรวมของอีกตารางหนึ่ง แต่ไม่เท่ากัน หรือตัวเลขบางตารางมียอดสูงเกินไป หรือต่ำเกินไป


< ก่อนหน้า

|บทที่ 1| 1.1| 1.2| 1.3| 1.4| 1.5| 1.6| 1.7| 1.8| 1.9| 1.10| 1.11| 1.12|
|บทที่ 2|
2.1| 2.2| 2.3| 2.4|