ค้นหาแบบกำหนดเงื่อนไข

1.2 ขอบข่ายของสถิติ

1.2.1 ในกรณีที่สถิติ หมายถึง ข้อมูลสถิติ

ข้อมูลสถิติได้ครอบคลุมไปในแทบทุกแขนงของวิชาการในกิจกรรมต่างๆ ของการดำรงชีวิตประจำวัน การวางแผน การบริหารงาน การติดตามผล เป็นต้น

ในวงการสถิติของรัฐบาล ไม่ว่าข้อมูลสถิตินั้นๆ จะอยู่ในลักษณะของผลพลอยได้จากการบริหารงาน หรือจัดทำขึ้นมาเพื่อการสถิติโดยตรง สามารถจำแนกข้อมูลสถิติ ดังกล่าว ออกเป็น 23 สาขาด้วยกัน คือ
•  สถิติประชากรและเคหะ
•  สถิติแรงงาน
•  สถิติการศึกษา การฝึกอบรม ศาสนาและวัฒนธรรม รวมถึงสถิติสื่อสารมวลชน
•  สถิติด้านสุขภาพ
•  สถิติสวัสดิการสังคม
•  สถิติเกี่ยวกับหญิงและชาย
•  สถิติรายได้และรายจ่ายของครัวเรือน
•  สถิติด้านสังคม ประชากรศาสตร์ และสถิติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
•  สถิติบัญชีประชาชาติ
•  สถิติการเกษตร การป่าไม้และการประมง
•  สถิติอุตสาหกรรมและเหมืองแร่
•  สถิติพลังงาน
•  สถิติการค้าส่ง ค้าปลีกและการค้าระหว่างประเทศ
•  สถิติการขนส่ง
•  สถิติการคมนาคม
•  สถิติการท่องเที่ยว
•  สถิติการเงิน การธนาคาร การประกันภัย และดุลการชำระเงิน
•  สถิติการคลัง
•  สถิติราคา
•  สถิติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิทธิบัตร
•  สถิติด้านเศรษฐกิจอื่น ๆ
•  สถิติด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
•  สถิติอุตุนิยมวิทยา

1.2.2 ในกรณีที่สถิติ หมายถึง สถิติศาสตร์ (Statistics)

วิชาสถิติมีขอบข่ายกว้างขวาง และเกี่ยวข้องกับศาสตร์อื่นๆ หลายแขนง เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ตรรกวิทยา เศรษฐศาสตร์ การบริหาร เป็นต้น จึงมีผู้ให้คำจำกัดความของวิชาการสถิติขึ้นใหม่ว่า

“ วิชาสถิติเป็นวิทยาศาสตร์ของการตัดสินใจในท่ามกลางความไม่แน่นอน ” ในการศึกษาวิชาสถิติ มักแบ่งสาขาและเนื้อหาออกเป็น 2 แขนงใหญ่ ๆ คือ

1. วิธีการทางสถิติ
(Statistical Methods) ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
•  สถิติพรรณนา (Descriptive Statistic) เป็นวิธีการทางสถิติเกี่ยวกับระเบียบวิธีที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดระเบียบข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลอย่างง่าย และการสรุปผลข้อมูล
•  สถิติอนุมาน (Inferential Statistic) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลจากตัวอย่างที่เก็บรวบรวมมาแล้วอนุมานหรือสรุปผลไปสู่ประชากร ด้วยวิธีการทางสถิติ เช่น การประมาณค่า (Estimation) การทดสอบสมมติฐาน (Hypothesis Testing) เป็นต้น

2. ทฤษฎีสถิติ (Statistical Theory) เป็นการศึกษาหลักวิชา และวิธีการทางคณิตศาสตร์ ซึ่งใช้ในการพัฒนาและสนับสนุนความถูกต้องสมบูรณ์ของระเบียบวิธีสถิติ

|บทที่ 1| 1.1| 1.2| 1.3| 1.4| 1.5| 1.6| 1.7| 1.8| 1.9| 1.10| 1.11| 1.12|
|บทที่ 2|
2.1| 2.2| 2.3| 2.4|