ค้นหาแบบกำหนดเงื่อนไข

1.11 การตรวจสอบคุณภาพข้อมูล

ข้อมูลสถิติควรจะมีความสมบูรณ์ครบถ้วน (Completeness) และความถูกต้อง (accuracy) มากพอสมควร เพื่อผู้ใช้ข้อมูลจะได้นำไปใช้ในการวิเคราะห์วิจัยให้ได้ผลใกล้เคียงความจริงมากที่สุด การที่จะได้มาซึ่งข้อมูลที่มีความสมบูรณ์ถูกต้องก็คือ ต้องขจัดความคลาดเคลื่อน
(error) ให้เหลือน้อยที่สุด

วิธีการตรวจสอบคุณภาพของข้อมูล คือ
•  ตรวจสอบความครบถ้วนของข้อมูล เป็นการตรวจสอบรายการต่างๆ ว่า ได้มีการบันทึกครบถ้วนทุกรายการที่กำหนดหรือไม่
•  ตรวจสอบความถูกต้องและความแนบนัยของข้อมูล เป็นการตรวจสอบข้อมูลว่า มีการบันทึกมาถูกต้องแนบนัยหรือไม่ ดังนี้
•  การตรวจสอบความแนบนัยภายใน (Internal consistency) คือ การตรวจว่าข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน มีความสอดคล้องกันหรือไม่
•  การตรวจสอบความแนบนัยภายนอก (External consistency) เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความรู้ความชำนาญหรือสถานการณ์ภายนอกมาช่วยในการพิจารณา

การตรวจสอบข้อมูลสถิติควรจัดทำในขั้นตอนของการดำเนินงานทางสถิติ ดังนี้
1. ขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูล ( งานสนาม ) การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ เป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญมาก เนื่องจาก ข้อมูลสถิติจะมีคุณภาพดีหรือไม่และมีความ เชื่อถือได้มากน้อยเพียงไร ขึ้นอยู่กับคุณภาพของข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติงานเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนั้นการตรวจสอบ ข้อมูลในขั้นนี้จะต้องตรวจสอบอย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องมากที่สุด สำหรับนำไปใช้ในขั้นตอนต่อไป โดยต้องทำการตรวจสอบ
- ความครบถ้วนของข้อมูล เป็นการตรวจสอบรายการต่างๆ ในแบบข้อถามว่าได้มีการบันทึกครบถ้วนทุกรายการที่กำหนดหรือไม่ ในการบันทึกหรือกรอกแบบข้อถามนั้น ถ้ามีรายการหรือข้อถามใดที่คำตอบว่างไว้เฉยๆ ก็จะถือได้ว่า แบบข้อถามนั้นขาดความครบถ้วนของข้อมูลไป นอกจากอาจมีบางรายการที่ไม่ต้องทำการบันทึกข้อมูลเพราะเงื่อนไขบางประการ ตัวอย่างเช่น


  สำรวจประชากรในชนบท

1. ชื่อ และ นามสกุล ………………… 2. เพศ ชาย หญิง
3. อายุ ………… ปี 4. การศึกษา …………………………………
5. อาชีพหลัก …………………………….…………..( ถ้าตอบว่ามีอาชีพทำการเกษตร ให้ถามข้อ 6)
6. เนื้อที่ถือครอบทำการเกษตร …………… ไร่
7. รายได้จากการประกอบอาชีพหลักในรอบปีที่แล้ว …………………….. บาท


 

จากตัวอย่างแบบข้อถามข้างต้นจะต้องตรวจสอบว่า มีการบันทึกครบตามรายการหรือไม่ ในกรณีตัวอย่างนี้ถ้าผู้ที่ถูกสำรวจมีอาชีพรับราชการ ก็ไม่ต้องบันทึก ข้อ 6 ข้ามไปบันทึก ข้อ 7 แต่ถ้า ผู้ตอบมีอาชีพทำ การเกษตรก็ต้องบันทึกข้อมูลเนื้อที่ถือครองทำการเกษตร ( ข้อ 6) ด้วย ฉะนั้นในการตรวจสอบความครบถ้วนผู้ตรวจสอบจะต้องดูทุกรายการว่าได้มีการบันทึกหรือไม่บันทึกอย่างไร

- ความถูกต้องและความแนบนัยของข้อมูล เป็นการตรวจสอบข้อมูลที่บันทึกอยู่ในแบบ ข้อถามว่ามีความถูกต้องหรือไม่ แบบข้อถามบางแบบอาจจะบันทึกมาครบถ้วนทุกรายการที่กำหนด แต่ข้อมูล ที่บันทึกอาจไม่ถูกต้อง เช่น จากแบบสำรวจข้างต้น ถ้าการบันทึกแบบเป็นดังนี้


 

สำรวจประชากรในชนบท
1. ชื่อ และ นามสกุล … นายดี มากหลาย … 2. เพศ ชาย หญิง
3. อายุ ……14…… ปี 4. การศึกษา … จบปริญญาตรี ………………………………
5. อาชีพหลัก …… ทำนา ……………………….…………..( ถ้าตอบว่ามีอาชีพทำการเกษตร ให้ถามข้อ 6)
6. เนื้อที่ถือครอบทำการเกษตร ……10……… ไร่ ได้ผลผลิต 20 เกวียน
7. รายได้จากการประกอบอาชีพหลักในรอบปีที่แล้ว ………5,000…….. บาท


 

เมื่อตรวจสอบแบบข้างต้นอย่างละเอียดแล้ว จะพบความผิดในการบันทึกข้อมูลดังนี้

1) ข้อ 2 การบันทึกเครื่องหมาย 3 ทั้งสองแห่ง ที่ถูกควรกา 3 ที่เพศชาย ไม่ใช่กา 3 ทั้งสองเพศ

2) อายุ 14 ปี มีการศึกษาจบปริญญาตรี ซึ่งจะเห็นว่าคนอายุ 14 ปี ยังไม่น่าที่จะจบปริญญาตรี ฉะนั้นจะเห็นว่าการบันทึกข้อมูล ในข้อ 3 และข้อ 4 นี้ไม่แนบนัยกัน
3) การบันทึกในข้อ 6 มีที่นา 10 ไร่ ได้ผลผลิตข้าว 20 เกวียน ( เท่ากับ 2,000 ถัง ) เฉลี่ย ผลผลิตต่อไร่ = เท่ากับ 200 ถังต่อไร่ ซึ่งสูงผิดปกติ เพราะตามความเป็นจริงนั้นผลผลิตข้าวเฉลี่ย 1 ไร่ จะไม่สูงถึง 200 ถัง ฉะนั้น การบันทึกข้อมูลอาจจะผิดที่จำนวนที่นาหรือจำนวนผลผลิต ก็ได้


 

 
|บทที่ 1| 1.1| 1.2| 1.3| 1.4| 1.5| 1.6| 1.7| 1.8| 1.9| 1.10| 1.11| 1.12|
|บทที่ 2|
2.1| 2.2| 2.3| 2.4|