ค้นหาแบบกำหนดเงื่อนไข

1.12 การคำนวณค่าสถิติ

ค่าสถิติที่นิยมใช้สำหรับสรุปผลข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอข้อมูลได้แก่
1. ยอดรวม (Total) คือ การนำข้อมูลสถิติมารวมกันเป็นผลรวมทั้งหมด เช่น จำนวนประชากรทั้งหมด ในภาคเหนือ จำนวนคนว่างงานทั้งประเทศ เป็นต้น
2. ค่าเฉลี่ย (Average, Mean) หมายถึง ค่าเฉลี่ยซึ่งเกิดจากข้อมูลของผลรวมทั้งหมดหารด้วยจำนวนรายการของข้อมูล เช่น การวัดส่วนสูงของผู้เข้ารับการอบรมสถิติ จำนวน 20 คน สำหรับส่วนสูงของผู้เข้ารับการอบรม 20 คน ที่วัดได้เป็นเซ็นติเมตร มีดังนี

155

162

165

168

167

158

170

156

173

167

167

154

169

172

153

168

152

157

158

160


ส่วนสูงโดยประมาณของผู้เข้ารับการอบรม คือ

=

=

= 162.6 เซนติเมตร

3. สัดส่วน (Proportion) คือ ความสัมพันธ์ของจำนวนย่อยกับจำนวนรวมทั้งหมด กล่าวคือ ให้ถือจำนวนรวมทั้งหมดเป็น 1 ส่วน เช่น ในการสำรวจคนในหมู่บ้านหนึ่งจำนวน 800 คน เป็นหญิง 300 คน ดังนั้นสัดส่วนของผู้หญิงในหมู่บ้านคือ = 0.37 และสัดส่วนของผู้ชายคือ หรือ เป็นต้น

4. อัตราร้อยละหรือเปอร์เซนต์ (Percentage or Percent) คือ สัดส่วน เมื่อเทียบต่อ 100 การคำนวณก็ทำได้ง่าย โดยเอา 100 ไปคูณสัดส่วนที่ต้องการหาผลลัพธ์ก็จะออกมาเป็นร้อยละ หรือเปอร์เซนต์

ตัวอย่าง ในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง มีคนไข้อยู่ 750 คน แยกเป็นคนไข้ประเภทต่าง ๆ ดังนี้ คนไข้ โรคทรวงอก 180 คน คนไข้ระบบทางเดินอาหาร 154 คน คนไข้ระบบประสาท 145 คน คนไข้ โรคตา หู คอ จมูก 112 คน ที่เหลือเป็นคนไข้โรคอื่น ๆ 159 คน เราจะหาร้อยละหรือเปอร์เซนต์ของคนไข้ประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้


คนไข้โรคทรวงอก

= = 24.0%

คนไข้ระบบทางเดินอาหาร

= = 20.5%

คนไข้ระบบประสาท

= = 19.3%

คนไข้ โรคตา หู คอ จมูก

= = 14.9%

คนไข้โรคอื่น ๆ

= = 21.2%

 

รวมทั้งหมด = 100.0%


5. อัตราส่วน
(Ratio) คือ ความสัมพันธ์ของตัวแปรที่มีต่อกันระหว่างตัวแปรสองตัวแปร เป็น การเปรียบเทียบตัวเลขจำนวนหนึ่งหรือหลายจำนวนกับตัวเลขอีกจำนวนหนึ่ง ตัวเลขที่เราใช้เปรียบเทียบ ด้วยนั้นเราเรียกว่า “ ฐาน ” เราสามารถคำนวณหาอัตราส่วนได้โดยใช้ตัวเลขจำนวนที่เราต้องการจะเปรียบเทียบตั้งหารด้วยตัวฐาน ตัวอย่างเช่น
•  อัตราส่วนระหว่าง 502 ต่อ 251 คือ 2 ต่อ 1 ซึ่งเราใช้ตัวเลข 251 เป็นฐาน 502 เป็นตัวเลขที่ต้องการจะเปรียบเทียบกับตัวเลขฐาน 251
•  หมู่บ้านแห่งหนึ่งมีประชากรทั้งสิ้น 7,530 คน เป็นเพศชาย 4,110 คน เป็นเพศหญิง 3,420 คน จะหาอัตราส่วนของเพศชายต่อเพศหญิงของประชากรในหมู่บ้านนี้จะเป็น 4,110 ต่อ 3,420 คือ 1.2 ต่อ 1 หมายความว่า ในหมู่บ้านนี้มีประชากรเพศชายเป็นจำนวน 1.2 เท่าของจำนวนประชากรเพศหญิง

หมู่บ้านแห่งหนึ่งมีประชากร 759 คน มีเนื้อที่ 30 ตารางกิโลเมตร ดังนั้น ความหนาแน่น ของประชากรในหมู่บ้านนี้ จะเท่ากับ 25.3 คนต่อตารางกิโลเมตร


|บทที่ 1| 1.1| 1.2| 1.3| 1.4| 1.5| 1.6| 1.7| 1.8| 1.9| 1.10| 1.11| 1.12|
|บทที่ 2|
2.1| 2.2| 2.3| 2.4|