3. การประมวลผลและการวิเคราะห์ข้อมูล
3.1
เตรียมโปรแกรมการประมวลผล
3.2
ตรวจสอบความครบถ้วนของแบบที่ส่งเข้าประมวลผล
3.3
การบรรณาธิกรและลงรหัส
3.4
การบันทึกข้อมูล
3.5
การตรวจสอบการบันทึกข้อมูล
3.6
การบรรณาธิกรด้วยเครื่อง
3.7
การประมวลผลข้อมูล
3.8
การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
3.9
การวิเคราะห์ข้อมูล
3.1
เตรียมโปรแกรมการประมวลผล
การประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ จะต้องเตรียมโปรแกรมเพื่อประมวลผลข้อมูลให้อยู่ในรูปตารางที่ต้องการนำเสนอผล โดยเขียนโปรแกรมตามเงื่อนไขและรายละเอียดที่กำหนดไว้ รวมถึง การเตรียมโปรแกรมการบรรณาธิกรด้วยเครื่องด้วย
3.2
ตรวจสอบความครบถ้วนของแบบที่ส่งเข้าประมวลผล
เมื่อได้รับแบบที่ส่งเข้าประมวลผลจะต้องทำการตรวจสอบว่าได้รับครบทุกเขตปฏิบัติงานหรือไม่ ถ้ามีเขตปฏิบัติงานใดขาดหายไป จะต้องแจ้งให้ผู้รับผิดชอบทราบเพื่อติดตามและหาสาเหตุ รวมถึงหาทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว
3.3
การบรรณาธิกรและลงรหัส
การบรรณาธิกร เป็นการตรวจสอบรายการข้อมูลต่างๆ ในแบบสอบถามว่ามีความถูกต้องครบถ้วนและมีความแนบนัยกันหรือไม่ โดยตรวจสอบตามคู่มือการบรรณาธิกรและลงรหัส ถ้ารายการข้อมูลใดมีการบันทึกไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน หรือไม่สอดคล้องกัน เจ้าหน้าที่บรรณาธิกรจะต้องแก้ไขให้ถูกต้อง
การลงรหัส เป็นการแปลงข้อมูลในแบบสอบถามให้เป็นตัวเลข เพื่อใช้ในการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะต้องลงรหัสให้ถูกต้องตามที่กำหนดไว้
3.4
การบันทึกข้อมูล
เป็นการนำข้อมูลที่เป็นตัวเลขจากแบบสอบถามลงสู่สื่อบันทึกข้อมูล เพื่อใช้ในการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อไป
3.5
การตรวจสอบการบันทึกข้อมูล
เป็นการตรวจสอบความผิดพลาดจากการบันทึกข้อมูล โดยทำการบันทึกข้อมูลซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะตรวจสอบกี่เปอร์เซ็นต์ของงานทั้งหมดนั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพของเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล
3.6
การบรรณาธิกรด้วยเครื่อง
เป็นการตรวจสอบข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยการวิ่งโปรแกรมเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลดังนี้
-
การตรวจสอบโครงสร้าง (Structure Check) เป็นการตรวจสอบโดยรวมของแต่ละเขตปฏิบัติงานว่า จำนวนหน่วยนับจดครบถ้วนหรือไม่
-
การตรวจสอบรหัส (Range Check) เป็นการตรวจสอบรหัสว่าอยู่ในขอบเขตที่กำหนดหรือไม่
-
การตรวจสอบความแนบนัยหรือความสอดคล้อง (Consistency Check) เป็นการตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างรายการข้อมูลว่ามีความสอดคล้องกันหรือไม่
การตรวจสอบทุกขั้นตอนเมื่อพบความผิดพลาดจะต้องแก้ไขให้ถูกต้องก่อนนำข้อมูลไปประมวลผล
3.7
การประมวลผลข้อมูล
สำหรับโปรแกรมที่เตรียมไว้เพื่อประมวลผลข้อมูลนั้น ควรมีการทดสอบความถูกต้องของโปรแกรมก่อนใช้งานจริง โดยใช้ข้อมูลตัวอย่างในการวิ่งโปรแกรม เพื่อตรวจสอบว่าตารางที่ได้จากการวิ่งโดยใช้ข้อมูลตัวอย่างนั้นถูกต้องหรือยัง ถ้ายังไม่ถูกต้องให้แก้ไขและทดสอบวิ่งโปรแกรมจนกว่าจะได้ตารางที่ถูกต้อง แล้วจึงวิ่งโปรแกรมโดยใช้ข้อมูลจริง เพื่อนำเสนอผลต่อไป
3.8
การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
เมื่อประมวลผลข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรมีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในแต่ละตารางว่ามีความถูกต้องครบถ้วนและสอดคล้องกันหรือไม่ ถ้ามีตารางใดที่ยังไม่ถูกต้องให้แก้ไขก่อนนำเสนอผล
3.9
การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำผลสรุปที่ได้ไปใช้ในการวางแผนและตัดสินใจนั้น จะต้องเลือกวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลให้ถูกต้องและเหมาะสม โดยพิจารณาว่าต้องการวิเคราะห์ข้อมูลแบบกี่ตัวแปร และต้องการเสนอผลในรูปสถิติเชิงพรรณนาหรือสถิติเชิงอนุมาน ซึ่งวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแต่ละแบบจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับระดับข้อมูลและการเสนอผล ดังนี้
1)
การวิเคราะห์ข้อมูลที่มีตัวแปรเดียว
เป็นการศึกษาลักษณะต่างๆ ของข้อมูล
ข้อมูล
ระดับข้อมูล
สถิติเชิงพรรณนา
สถิติเชิงอนุมาน
ตัวแปรเดียว
นามบัญญัติ
- ฐานนิยม
- การทดสอบไคสแควร์
- ความถี่สัมบูรณ์และ
ความถี่สัมพัทธ์ในแต่ละพวก
อันดับ
- มัธยฐาน
- การทดสอบของโครโมโกรอฟ-สมินอฟ
- พิสัย ควอไทล์
สำหรับหนึ่งตัวอย่าง
อันตรภาคชั้น
- ค่าเฉลี่ย
- การทดสอบโดยใช้ t
- ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
- การทดสอบโดยใช้ z
2)
การวิเคราะห์ข้อมูลที่มีสองตัวแปร
ส่วนใหญ่จะดูความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งสองว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร และมีความแตกต่างระหว่างตัวแปรทั้งสองหรือไม่
ข้อมูล
ระดับข้อมูล
สถิติเชิงพรรณนา
สถิติเชิงอนุมาน
สองตัวแปร
นามบัญญัติ
- สัมประสิทธิ์การจร
- การทดสอบไคสแควร์
อันดับ
- สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์โดย
- การทดสอบแมนน์-วิทนี
ใช้ลำดับที่
- การทดสอบของโครโมโกรอฟ-สมินอฟ
- สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ
สำหรับสองตัวอย่าง
เคนดอล
อันตรภาคชั้น
- สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย
- การทดสอบสัมประสิทธิ์ความถดถอย
- ความถดถอยอย่างง่าย
- การทดสอบความแตกต่างระหว่าง
ค่าเฉลี่ยของสองประชากร
3)
การวิเคราะห์ข้อมูลที่มีมากกว่าสองตัวแปร
เป็นการวิเคราะห์ชั้นสูงเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีตัวแปรมากกว่าสองตัวแปรพร้อมกัน ซึ่งจำแนกได้เป็น 2 วิธีคือ
การวิเคราะห์แบบขึ้นอยู่กับตัวแปรอื่น เป็นการวิเคราะห์ที่มีตัวแปรหนึ่งตัวหรือมากกว่าที่ถูกกำหนดให้ถูกพยากรณ์ด้วยตัวแปรอิสระตัวอื่นๆ ชุดหนึ่ง ได้แก่ การวิเคราะห์ความถดถอยพหุ (multiple regression analysis) การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุ (multivariate analysis) และการวิเคราะห์การจำแนก (discriminant analysis)
การวิเคราะห์แบบขึ้นอยู่ระหว่างตัวแปรด้วยกัน เป็นการวิเคราะห์ที่ไม่มีตัวแปรที่ถูกกำหนดให้ถูกพยากรณ์ด้วยตัวแปรตัวอื่นๆ แต่เป็นการดูความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหลายๆ ตัวพร้อมๆ กัน ได้แก่ การวิเคราะห์ตัวประกอบ (factor analysis) การวิเคราะห์กลุ่ม (cluster analysis)