:: รายการข้อมูลที่เกี่ยวข้อง - สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2543
ความแตกต่างระหว่างวิธีสำมะโน (Census) และวิธีการทะเบียน (Registration)

สำมะโนประชากรและเคหะ

ทะเบียนราษฎร

1. วัตถุประสงค์ 1. วัตถุประสงค์
    สำมะโนประชากรและเคหะจัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์
ที่จะเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน และลักษณะ ของประชากรทุกคนในครัวเรือน และลักษณะของที่อยู่อาศัยของประชากรเหล่านั้น โดยจัดทำทุก ๆ 10 ปี เพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและ
ใช้กำหนดนโยบายในการบริหารและเพื่อสนอง ความต้องการใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์วิจัยต่างๆ ตลอดจนใช้ในการคาดประมาณจำนวนประชากรในอนาคต
    ทะเบียนราษฏร์นั้นเป็นการจัดทำทะเบียน
ของประชาชนตามกฏหมาย เพื่อใช้ข้อมูล
ในการบริหารทะเบียนราษฎรนั้น
เป็นการจัดทำทะเบียนของประชาชนตาม
กฎหมายเพื่อใช้ข้อมูลในการบริหาร
การปกครองท้องถิ่นมากกว่าจะใช้ประโยชน์
ในการวางแผนพัฒนาต่าง ๆ เนื่องจาก
มีรายละเอียดไม่เพียงพอ
2. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 2. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
   2.1 เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลประชากรทั่ว ประเทศ
ณ สถานที่อยู่จริงในเวลาเดียวกัน
    2.2 เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจำแนกตาม ครัวเรือน”
ซึ่งเป็นหน่วยที่ใช้เป็นพื้นฐานใน การสำรวจและการวางแผนต่าง ๆ
    2.3 เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์
    2.1 เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลประชากร
ตามที่อยู่ที่ปรากฏในทะเบียนราษฎร
    2.2 เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจำแนกตาม
บ้าน” หรือ “หลังคาเรือน”
    2.3 เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล
จากทะเบียนราษฎร โดยประชากรมีหน้าที่
ไปแจ้ง ณ สำนักงาน ทะเบียนท้องถิ่น 
ตามที่กฎหมายกำหนด
3. ข้อมูลที่ได้ 3. ข้อมูลที่ได้
    เป็นข้อมูลแสดงลักษณะรายละเอียดของประชากร
ประกอบด้วย ลักษณะทางประชากร ทางเศรษฐกิจ
และสังคม และลักษณะในการอยู่อาศัยของประชากร
เช่น อายุ เพศ สถานภาพสมรส จำนวนบุตรเกิดรอด
การศึกษา การย้ายถิ่น ศาสนา สถานที่เกิด การมีงานทำ
อาชีพ อุตสาหกรรม สถานภาพการ ทำงาน ลักษณะที่อยู่อาศัย
การเป็นเจ้าของที่อยู่ อาศัยและที่ดิน
มาตรฐานความเป็นอยู่ของประชากร
    ข้อมูลจากทะเบียนราษฎร มีรายละเอียดเฉพาะ
เพศ และอายุ
4. การนำเสนอข้อมูล 4. การนำเสนอข้อมูล
    สำมะโนประชากรสามารถเสนอผลได้ในระดับ
ทั่วราชอาณาจักร ภาค จังหวัด อำเภอ และตำบล
ใน รายละเอียดในเรื่องต่าง ๆ ตามที่ได้กล่าวในข้อ 3
    ทะเบียนราษฎรได้ออกรายงานผลแสดงจำนวน ประชากรในวันสิ้นปีในระดับเดียวกับการทำสำมะโน
แต่จำแนกตามเพศ และอายุเท่านั้น
5. ประโยชน์ที่ได้จากข้อมูล 5. ประโยชน์ที่ได้จากข้อมูล
   5.1 ข้อมูลที่รวบรวมมีรายละเอียดในเรื่องต่าง ๆ
จึงสามารถนำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมของประเทศ
    5.2 นำไปใช้ในการวิจัยต่าง ๆ
    5.3 ใช้เป็นประชากรฐานในการคาดประมาณ
ประชากรในอนาคต ซึ่งใช้ในการวางแผนระยะยาว
และข้อมูลที่ได้จากการคาดประมาณนั้นจะใช้เป็นตัว
คุมยอดจำนวนประชากรที่ได้จากการสำรวจต่างๆ
ตามหลักวิชาการสถิติ
    5.4 บัญชีรายชื่อครัวเรือนและประชากรของ
ประเทศที่ได้จากการทำสำมะโน นำมาใช้เป็นกรอบ ตัวอย่างในการทำสำรวจอื่น ๆ
    5.5 ใช้ในการวางแผนหรือกำหนดนโยบายใน
ระดับท้องถิ่น หรือแก้ไขปัญหาที่สำคัญ ๆ ด้วย
    ใช้ข้อมูลสำหรับการบริหาร เช่น การเลือกตั้ง
การจัดตั้งเขตการปกครองใหม่ การเกณฑ์ทหาร ฯลฯ ถ้าหากจะนำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
หรือสังคม ของประเทศ หรือนำไปใช้ในการวิจัย
จะไม่มีรายละเอียดเพียงพอ