ค้นหาแบบกำหนดเงื่อนไข
โครงการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ดำเนินการจัดทำโครงการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร (เปลี่ยนชื่อจากโครงการสำรวจแรงงาน
เมื่อ พ.ศ. 2534) อย่างต่อเนื่องทุกปี เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2506 ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา ได้มีการปรับปรุงแนวคิดและคาบเวลาการสำรวจ ซึ่งในช่วงแรกคาบเวลาการสำรวจไม่คงที่ ระหว่าง พ.ศ. 2514 - 2526 สำรวจปีละ 2 รอบ โดยรอบแรกสำรวจระหว่างเดือนมกราคม
ถึงเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นช่วงนอกฤดูการเกษตร รอบที่ 2 สำรวจระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนเมษายน เป็นช่วงในฤดูการเกษตร
ระหว่าง พ.ศ. 2527 - 2540 สำรวจปีละ 3 รอบ คือ รอบที่ 1 สำรวจเดือนกุมภาพันธ์ (นอกฤดูการเกษตร) รอบที่ 2 เดือนพฤษภาคม
(ปลายภาคปีการศึกษา) และรอบที่ 3 เดือนสิงหาคม (ในฤดูการเกษตร) ต่อจากนั้นในช่วงปี พ.ศ.2541 - 2543 ได้สำรวจปีละ 4 รอบ
(ไตรมาส) โดยสำรวจเพิ่มอีก 1 รอบเป็นรอบที่ 4 ในเดือนพฤศจิกายน และครั้งล่าสุดได้ปรับปรุงคาบเวลาการสำรวจเป็นรายเดือน
เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมข้อมูล ทางด้านประชากร สังคมและเศรษฐกิจของประชากรที่อยู่ในวัยทำงานของประเทศ
เช่น อายุ เพศ การศึกษา การมีงานทำ อาชีพ อุตสาหกรรม สถานภาพการทำงาน รายได้ การว่างงาน ระยะเวลาที่หางานทำ
และวิธีการหางานทำ นอกจากนี้ยังได้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนและลักษณะบางประการของผู้ที่ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน เช่น
แม่บ้านและนักเรียน เข้าไว้ด้วย

ประโยชน์ที่ได้รับจากการสำรวจ ทำให้ทราบถึงสถานการณ์แรงงานในปัจจุบัน เช่น สภาพของกำลังแรงงาน การมีงานทำ
การว่างงาน การว่างงานตามฤดูกาล การทำงานต่ำกว่าระดับ ค่าจ้าง ฯลฯ ข้อมูลสถิติที่ได้จากการสำรวจจะนำไปใช้ในการ
ประมาณการกำลังแรงงาน คาดคะเนความเจริญเติบโตของภาวะทางเศรษฐกิจสังคม นอกจากนี้ ยังใช้ข้อมูลนี้ประกอบ
ในการคำนวณรายได้ประชาชาติ แนะแนวอาชีพ ตลอดจนการกำหนดนโยบายทางด้านแรงงาน และด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง

คุ้มรวม
โครงการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร คุ้มรวมเฉพาะครัวเรือนส่วนบุคคลและครัวเรือนพิเศษ ที่เป็นบ้านพักคนงาน
หอพักเอกชนทั่วไป ยกเว้นชาวต่างประเทศที่มีเอกสิทธิ์ทางการทูตและทหารประจำการทุกคน

ระเบียบวิธีการสำรวจ
โครงการนี้ใช้ระเบียบวิธีการสำรวจด้วยตัวอย่าง (Sample Survey Method) โดยการเลือกตัวอย่าง เป็นแบบ Stratified
Two-Stage Sampling มีจังหวัดเป็นสตราตัม ชุมรุมอาคาร (ในเขตเทศบาล) และหมู่บ้าน (นอกเขตเทศบาล) เป็นหน่วย
ตัวอย่างขั้นที่หนึ่ง ครัวเรือนส่วนบุคคลและสมาชิกในครัวเรือนพิเศษเป็นหน่วยตัวอย่างขั้นที่สอง

การจัดสตราตัม จังหวัดเป็นสตราตัม มีทั้งสิ้น 76 สตราตัมและในแต่ละสตราตัมแบ่งเป็น 2 สตราตัมย่อย ตามลักษณะ
การปกครองของกรมการปกครอง คือ ในเขตเทศบาล และนอกเขตเทศบาล

การเลือกตัวอย่างขั้นที่หนึ่ง จากแต่ละสตราตัมย่อยหรือแต่ละเขตการปกครอง ได้เลือกชุมรุมอาคาร/หมู่บ้านตัวอย่าง
อย่างอิสระต่อกัน สำหรับการสำรวจในปี 2544 แต่ละเดือนมีจำนวนประมาณ 1,932 ชุมรุมอาคาร/หมู่บ้าน ซึ่งเมื่อรวม
เป็นรายไตรมาสแล้ว มีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 5,796 ชุมรุมอาคาร/หมู่บ้าน จากจำนวนทั้งสิ้น 109,966 ชุมรุมอาคาร/หมู่บ้าน

การเลือกตัวอย่างขั้นที่สอง เลือกครัวเรือนตัวอย่างจากครัวเรือนส่วนบุคคลทั้งสิ้นในแต่ละชุมรุมอาคาร/หมู่บ้านตัวอย่าง
ด้วยวิธีการสุ่มแบบมีระบบ โดยในเขตเทศบาล กำหนด 15 ครัวเรือนตัวอย่างต่อชุมรุมอาคาร และนอกเขตเทศบาล
กำหนด 12 ครัวเรือนตัวอย่างต่อหมู่บ้าน ในกรณีของครัวเรือนพิเศษเลือกสมาชิก ตัวอย่างจากครัวเรือนพิเศษ
ทุกครัวเรือนด้วยวิธีการสุ่มแบบมีระบบ โดยการสำรวจแต่ละเดือนจะมีขนาดตัวอย่างประมาณ 26,520 ครัวเรือน ซึ่งเมื่อรวมเป็นรายไตรมาสแล้วจะมีขนาดตัวอย่างประมาณ 79,560 ครัวเรือน

สำหรับวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้ส่งเจ้าหน้าที่หรือพนักงานสนามไปทำการสัมภาษณ์สมาชิกในครัวเรือนที่ตกเป็นตัวอย่าง

รายการข้อมูลที่เก็บรวบรวม
เก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานดังต่อไปนี้

  1. ลักษณะของประชากร เช่น อายุ เพศ การศึกษา สถานภาพสมรส ผู้อยู่ในกำลังแรงงงานและ ผู้อยู่นอกกำลังแรงงาน
  2. ลักษณะของผู้มีงานทำ เช่น อาชีพ อุตสาหกรรม สถานภาพการทำงาน ชั่วโมงทำงาน รายได้และผลประโยชน์อื่น ๆ
ที่ได้รับจากการทำงาน เป็นต้น
  3. ลักษณะของผู้ไม่มีงานทำ เช่น ระยะเวลาในการหางานทำ อาชีพที่ทำครั้งสุดท้ายและวิธีการ หางานทำ

คาบเวลาการเก็บรวบรวมข้อมูล
โครงการสำรวจนี้ ได้จัดทำเป็นประจำทุกปี ปีละ 3 รอบ และตั้งแต่ปี 2541 ได้เพิ่มการสำรวจในรอบที่ 4 รวมเป็นทำการ
สำรวจจำนวนทั้งสิ้น 4 รอบ คือ
รอบที่ 1 สำรวจในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงหน้าแล้งนอกฤดูการเกษตร
รอบที่ 2 สำรวจในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงที่กำลังแรงงานใหม่ที่เพิ่งสำเร็จการศึกษาเริ่มเข้าสู่ กำลังแรงงาน
รอบที่ 3 สำรวจในเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูการเกษตร
รอบที่ 4 สำรวจในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงเริ่มฤดูการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร
สำหรับการสำรวจในปี พ.ศ. 2544 ดำเนินการเป็นรายเดือน โดยมีคาบเวลาการเก็บรวบรวมข้อมูลในวันที่ 1-12 ของทุกเดือน
แนวคิดและนิยามที่สำคัญ
เนื่องจากการสำรวจในปี พ.ศ. 2544 ได้เปลี่ยนแปลงแนวคิดและคำนิยามที่สำคัญในบางเรื่อง ซึ่งจะได้เปรียบเทียบกับ
ก่อนปี 2544 ดังนี้

สถานภาพแรงงาน
ก่อน พ.ศ. 2544 ได้แก่บุคคลที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไป ซึ่งถูกจัดจำแนกตามกิจกรรมที่ทำในสัปดาห์แห่งการสำรวจ
  { ผู้มีงานทำ

ผู้ไม่มีงานทำ
ประชากรอายุ 13 ปี ขึ้นไป { กำลังแรงงานรวม

ผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงานรวม
{ กำลังแรงงานปัจจุบัน

กำลังแรงงานที่รอฤดูกาล

พ.ศ. 2544 ได้แก่บุคคลที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งถูกจัดจำแนกตามกิจกรรมที่ทำในสัปดาห์แห่งการสำรวจ
  { ผู้มีงานทำ

ผู้ไม่มีงานทำ
ประชากรอายุ 15 ปี ขึ้นไป { กำลังแรงงานรวม

ผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงานรวม
{ กำลังแรงงานปัจจุบัน

กำลังแรงงานที่รอฤดูกาล

ก่อน พ.ศ.2544
ตั้งแต่ พ.ศ.2544
สัปดาห์แห่งการสำรวจ
หมายถึง คาบเวลา 1 สัปดาห์ก่อนหน้าคาบการแจงนับ โดยนับตั้งแต่วันอาทิตย์ถึงวันเสาร์
สัปดาห์แห่งการสำรวจ
หมายถึง ในระหว่าง 7 วันก่อนวันสัมภาษณ์
ผู้มีงานทำ
ได้แก่บุคคลที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไป ซึ่งในสัปดาห์แห่งการสำรวจเป็นผู้
1. ทำงานอย่างน้อย 1 ชั่วโมง โดยได้รับค่าจ้าง เงินเดือน ผลกำไร เงินปันผลหรือค่าตอบแทนที่มีลักษณะอย่างอื่น หรือ
2. ไม่ได้ทำงานเลยแต่ยังคงมีตำแหน่งหน้าที่การงาน ธุรกิจ ไร่นาเกษตรของตนเอง แต่ได้หยุดงานชั่วคราว
3. ทำงานอย่างน้อย 1 ชั่วโมงโดยไม่ได้รับค่าจ้าง ในวิสาหกิจหรือไร่นาเกษตรของหัวหน้าครัวเรือนหรือ
ของสมาชิกในครัวเรือน
ผู้มีงานทำ
ได้แก่บุคคลที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งในสัปดาห์แห่งการสำรวจเป็นผู้
1. ทำงานอย่างน้อย 1 ชั่วโมง โดยได้รับค่าจ้าง เงินเดือน ผลกำไร เงินปันผลหรือค่าตอบแทนที่มีลักษณะอย่างอื่น หรือ
2. ไม่ได้ทำงานเลยแต่ยังคงมีตำแหน่งหน้าที่การงาน ธุรกิจ ไร่นาเกษตรของตนเอง แต่ได้หยุดงานชั่วคราว
3. ทำงานอย่างน้อย 1 ชั่วโมงโดยไม่ได้รับค่าจ้าง ในวิสาหกิจหรือไร่นาเกษตรของหัวหน้าครัวเรือนหรือ
ของสมาชิกในครัวเรือน
ผู้ไม่มีงานทำ
ได้แก่ บุคคลที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไป ซึ่งในสัปดาห์แห่งการสำรวจ ไม่ได้ทำงานใด ๆ เลยแม้แต่ 1 ชั่วโมง ไม่มีงานทำ ไม่มีธุรกิจหรือไร่นาเกษตรของตนเอง แต่พร้อมที่จะทำงาน ซึ่งหมายถึง บุคคลต่อไปนี้
1. ผู้ซึ่งหางานทำภายใน 30 วันนับถึงวันแจงนับ
2. ผู้ซึ่งไม่ได้หางานทำเนื่องจากเจ็บป่วย หรือไม่ได้หางานทำเพราะคิดว่าหางานทำที่เหมาะสมกับตนไม่ได้ รอที่จะเริ่มงานใหม่ รอฤดูกาลหรือเหตุผลอื่นๆ
ผู้ไม่มีงานทำ
ได้แก่ บุคคลที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งในสัปดาห์แห่งการสำรวจ มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1. ไม่ได้ทำงาน ไม่มีงานประจำ แต่ได้หางานทำในระหว่าง 30 วันก่อนวันสัมภาษณ์
2. ไม่ได้ทำงาน ไม่มีงานประจำ และไม่ได้หางานทำในระหว่าง 30 วันก่อนวันสัมภาษณ์ แต่พร้อมที่จะทำงานในระหว่าง 7 วัน
ก่อนวันสัมภาษณ์
กำลังแรงงานที่รอฤดูกาล
หมายถึง บุคคลที่ตามปกติจะเป็นผู้ทำงานโดยไม่ได้รับสิ่งตอบแทนในไร่นาเกษตร หรือธุรกิจซึ่งทำกิจกรรมตามฤดูกาล โดยมีหัวหน้าครัวเรือนหรือสมาชิกคนอื่น ๆ ในครัวเรือนเป็นเจ้าของหรือผู้ดำเนินการ แต่ในสัปดาห์แห่งการสำรวจไม่ได้ทำงาน
และไม่พร้อมจะทำงาน เนื่องจากกำลังรอฤดูกาลที่เหมาะสมเพื่อที่จะทำงานต่อไป
กำลังแรงงานปัจจุบัน
หมายถึง บุคคลซึ่งในสัปดาห์แห่งการสำรวจมีงานทำหรือไม่มีงานทำ
กำลังแรงงานรวม หมายถึง บุคคลซึ่งในสัปดาห์แห่งการสำรวจอยู่ในกำลังแรงงานปัจจุบัน หรือในกำลังแรงงานที่รอฤดูกาล
อัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงาน
= (กำลังแรงงานรวม) * 100/ (ประชากรอายุ 13 ปีขึ้นไป)
อัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงาน
= (กำลังแรงงานรวม) * 100/ (ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป)
อัตราการว่างงาน
= ( ผู้ไม่มีงานทำ) * 100/ (กำลังแรงงานรวม)
การจัดจำแนกประเภทอุตสาหกรรม
จัดจำแนกตามความเหมาะสมกับลักษณะประเภท อุตสาหกรรมของประเทศไทย โดยอ้างอิงจาก International
Standard Industrial Classification, (ISIC) 1958
ขององค์การสหประชาชาติ (UN)
การจัดจำแนกประเภทอุตสาหกรรม
ใช้ตาม International Standard Industrial Classification, (ISIC)
ฉบับ Revision 3, 1989 ซึ่งเป็นฉบับล่าสุดขององค์การสหประชาชาติ (UN)
การจัดจำแนกประเภทอาชีพ
จัดจำแนกตามความเหมาะสมกับลักษณะอาชีพของประเทศไทยโดยอ้างอิงจาก International Standard Classification of Occupation, 1958 (ISCO - 58) ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)
การจัดจำแนกประเภทอาชีพ
ใช้ตาม International Standard Classification of Occupation,
1988 (ISCO - 88) ซึ่งเป็นฉบับล่าสุดขององค์การแรงงาน
ระหว่างประเทศ (ILO)
การจัดจำแนกประเภทอาชีพ
ใช้ตาม International Standard Classification of Occupation, 1988 (ISCO - 88) ซึ่งเป็นฉบับล่าสุดขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)
การจัดจำแนกสถานภาพการทำงาน
จัดจำแนกตาม International Classification of Status in
Employment, 1993 (ICSE - 93) ขององค์การแรงงาน
ระหว่างประเทศ (ILO) มีสถานภาพการทำงานเพิ่มขึ้นอีก 1 กลุ่ม คือ การรวมกลุ่ม (Member of Producers' Cooperative)